ข้อมูลทั่วไป


ชื่อทางการ: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยทั้งทางบกและทางนำ้ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาวจึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รวมทั้งเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว นอกจากนี้ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (Land Bridge หรือ Land Link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สามในอนุภูมิภาค ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ทางหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับพม่าและไทย ทิศตะวันตกติดกับเวียดนาม และทิศใต้ติดกับกัมพูชา เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่ : 236,880 ตร.กม. (1/2 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane)
ประชากร : 6.59 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (เถรวาท) ร้อยละ 75 75 และนับถือความเชื่อท้องถิ่น ร้อยละ 16-17์
อากาศ : ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า พื้นที่ทางภาคใต้และทางตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกมากกว่าภาคเหนือ
วันชาติ : วันที่ 2 ธันวาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย : วันที่ 19 ธันวาคม 2493

การเมืองการปกครอง


ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่าระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียว คือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ มีประธาน ประเทศเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

นโยบายต่างประเทศมุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุกประเทศ โดยให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา


ประมุข : พลโท จูมมาลี ไซยะสอน (Lt. Gen. Choummaly Sayasone) ประธานประเทศ สปป.ลาว (President of the Lao PDR)
ผู้นำรัฐบาล : นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีต่างประเทศ : ดร. ทองลุน สีสุลิด
เขตการปกครอง : แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 จังหวัด โดยมี เมือง เป็นหน่วยย่อย
ประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร : แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong

เศรษฐกิจการค้า


การค้าระหว่างประเทศทั้งสองมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด นอกจากนี้ ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาว ทั้งในรูปของการ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ one way free trade หลายร้อยรายการตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน

การเพาะปลูก ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูก 1,187,500 ไร่ และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน/ปีน


ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ : ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ กาแฟ ไฟฟ้า กระป๋อง ทองแดง ทองคำ
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เชื่อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
หน่วยเงินตรา : กีบ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ : 9,554 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว : 1,386 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ : ร้อยละ 8.3

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว


ด้านการทูต


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่นใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและแก้ไขปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี


ด้านการเมืองและความมั่นคง


กองทัพไทยและลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่นมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย - ลาว ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานให้ชายแดนไทย-ลาวเป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ สันติภาพ และความมั่นคง

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดเป็นประจำทุกปี


ด้านการท่องเที่ยว


นักท่องเที่ยวไทยไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และนักท่องเที่ยวลาวมาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.84


ด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา

•ไทยให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับลาว ตั้งแต่ปี 2516 โดยเน้นด้านการพัฒนาบุคลากร ในลักษณะการให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม ดูงาน และโครงการพัฒนาในสาขาการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือด้านแรงงานทั้งการจ้างแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน และการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง


ที่มา: กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.